เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "ผ้าแห่งความทรงจำ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนมีความเข้าใจผ้าเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิต และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ รู้จักที่มาของเส้นใยเข้าใจคุณสมบัติของเส้นใยผ้าแต่ละชนิด รวมทั้ง เข้าใจต่อกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์รวมทั้งสามารถประดิษฐ์ ซ่อมแซม และสร้างสรรค์งานผ้าให้เกิดมูลค่า หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

week6




เป้าหมายรายสัปดาห์ :  เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการดูแลรักษาผ้าแต่ละชนิดและซ่อมแซมเสื้อผ้าได้
Week
Input
Process 
Output
Outcome
6
โจทย์  การดูแลรักษา และการซ่อมแซมเสื้อผ้า(ปะ ชุน ด้น เย็บด้วยมือ)
คำถาม
นักเรียนจะมีวิธีการดูแลรักษาผ้าที่สวมใส่แต่ละชนิดอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาผ้าแต่ละชนิด
- Blackboard Share วิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้า
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
เศษผ้าสำหรับปะ
เข็มและด้าย
กรรไกรตัดผ้า
เข็มหมุด


วันจันทร์
ชง
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนจะมีวิธีการดูแลรักษาผ้าที่สวมใส่แต่ละชนิดอย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการดูแลรักษาเสื้อผ้า
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาวิธีการดูแลเสื้อผ้า
ใช้
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ทำชาร์ตความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาผ้าแต่ละชนิด
วันอังคาร
ใช้
ครูให้นักเรียนแต่ละคนเตรียมอุปกรณ์ในการซักผ้าและเตรียมผ้าที่ใส่แล้วมาซักที่โรงเรียน(เสื้อ  กระโปรง ถุงเท้า กางเกง)
วันพฤหัสบดี
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนนำเสื้อผ้าที่ชำรุดมาซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยการเย็บในรูปแบบต่างๆการด้น การเนา การปะ และการส้อย
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีการดูแลเสื้อผ้าของตนเอง
วันศุกร์
ใช้
นักเรียนศึกษาค้นคว้าเครื่องหมายสัญญาลักษณ์ในเสื้อผ้า
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเครื่องหมายสัญญาลักษณ์ในเสื้อผ้า
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
ซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยการชุน การปะ การด้น การเนาและการสอย
ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาผ้าแต่ละชนิด

ภาระงาน
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลรักษาและการซ่อมแซมเสื้อผ้า

ความรู้
สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลเสื้อผ้า และการซ่อมแซมเสื้อผ้า
ทักษะ
ทักษะชีวิต
สามารถวางแผนเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมเสื้อผ้า
สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงาน
สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
สามารถมองเห็นข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับอุปกรณ์แต่ละชนิด
สามารถแก้ไขปัญหาระหว่างการดูแลรักษา และการซ่อมแซมเสื้อผ้าได้
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ
ทักษะการคิด
- มีความสนในและสามารถวางแผนการเรียนรู้ได้
- ใช้ความคิดใหม่ๆวิธีการใหม่ๆในการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างของเพื่อนๆ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างของเพื่อนๆ
คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง



ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์







ตัวอย่างชิ้นงาน







ประมวลภาพกิจกรรม


1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 6 พี่ป.3 ได้เรียนรุ้เกี่ยวกับการดูแลและการซ่อมแซมเสื้อผ้าผ้าโดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนจะมีวิธีการดูแลรักษาผ้าที่สวมใส่แต่ละชนิดอย่างไร" นักเรียนแต่ละคนนำเสื้อนักเรียน กระโปรงกางเกง ถุงเท้ามาซักที่โรงเรียน ในระหว่างที่นักเรียนกำลังซักผ้า ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อนักเรียนจะซักเ(สื้อนักเรียน กระโปรงกางเกง ถุงเท้า)สิ่งไหนก่อนหลังเพราะเหตุใดจึงนำสิ่งนั้นซักก่อน พี่บาส:นำเสื้อนักเรียนก่อนครับเพราะเสื้อสกปกน้อยที่สุด พี่น้ำอ้อย:ต่อมาเป็นกระโปรงค่ะเพราะกระโปรงสกปรกน้อยกว่าถุงเท้าค่ะ พี่แป้ง:ถุงเท้าเอาไว้ซักสุดท้ายสุดเพราะถุงเท้าสกปรกที่สุดค่ะ หลังจากนั้นครูให้นักเรียนซักผ้าที่นักเรียนเตรียมาพอเสร็จแล้วนำไปตากในขณะที่ตากผ้าครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อนักเรียนจะนำผ้าของนักเรียนไปตากด้วยวิธีไหนเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น พี่น้ำมนต์: เราต้องกลับด้านเอาฝฝั่งที่มีตะเข็บออกค่ะเพราะว่าจะทำให้สีเสื้อผ้าของเราไม่ซีด หลังจากที่ซักผ้าเสร็จครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมเพื่อที่จะทบทวนแลกเปลี่ยนวิธีการดูแลผ้า ในชั่วโทงต่อนักเรียนแต่ละคนนำผ้าที่ชำรุดมาซ่อมแซมที่โรงเรียน ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่านักเรียนจะมีวิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้าของนักเรียนอย่างไร ครูให้นักเรียนดูเย็บผ้าตามวิธีการดูแลของนักเรียนเอง พี่บีม:เสื้อของผมชายเสื้อมาขาดผมเลือกวิธีการเนาครับ พี่ชมพู่:กระโปรงนักเรียนหนูขาดตรงตะเข็บหนูเลือกใช้วิธีการสอยค่ะ หลังจากที่นักเรียนซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยการเย็บเสร็จครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการดูแลผ้าโดยวิธีการเย็บแบบต่างๆ ในวันพฤหัสบดีครูให้นักเรียนดูคลิปสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ หลังจากดูคลิปจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไร และจำนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร นักเรียนแต่ละคนศึกษาข้อมมูลสีย้อมผ้าจากธรรมชาติจากคุณพ่อคุณแม่ คุณย่า คุณย่าย นักเรียนแต่ละคนนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาย้อมผ้าที่โรงเรีย ในชั่วโมงต่อมาครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน นักเรียนแต่ละกลุ่มมัดผ้ามัดย้อมของกลุ่มตัวเองและผ้าที่มัดนำไปย้อม ในขณะที่เราย้อมผ้าครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมเพื่อทบทวนวัตถุดิบจากธรรมชาติที่นักเรียนเตรียมมามีอะไรบ้างและให้สีอะไร พี่เบียร์:นำเปลือกประดู่มาให้สีแดงครับ พี่น้ำอ้อย:นำมะเกลือมาให้สีดำค่ะ พี่แป้ง:นำขมิ้นมาให้สีเหลืองเข้มค่ะ พี่สกาย:นำเปลือกขนุนมาให้สีเหลืองอ่อนครับ พี่เฟรม:นำเปลือกกระโดนมาให้สีแดงเม็ดมะขามครับ ครูหนันครูแป้ง: นำเปลือกมังคุดมาเด็กๆคิดว่าเปลือกมังคุดน่าจะให้สีอะไร:พี่ป3 เปลือกมังคุดให้สีม่วงค่ะ/ครับ หลังจากนั้นครูให้นักเรียนนำผ้าของแต่ละกลุ่มมาย้อมหลังจากที่ย้อมเสร็จพี่ป.3 นำผ้าที่ย้อมไปล้างน้ำแล้วนำไปตากให้แห้งพี่ป.3 ตื่นเต้นมากที่ได้เห็นลวดลายผ้าที่ตนเองมัด หลังจากนั้นครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 6

    ตอบลบ